วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ลดต้นทุน การทำนา ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ข้าวโพด

การลดต้นทุน มีคนพูดกันเยอะว่า ทำอย่างโน้นทำอย่างนี้  แต่สำหรับผม การลดต้นทุนที่ได้ผลคือ
ยอดขายรวม - ต้นทุน  = กำไร  ถ้ากำไรผมเยอะขึ้น  ผมถือว่านั่นคือการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต ครับ

การลดต้นทุนของผมทำหลักมี   ด้าน ครับ

1 ปรับดินให้พร้อม ให้ดี ให้มีคุณภาพ  ก่อนปลูกพืช
   การบำรุงดิน ให้ดี จะทำให้เรา ลดต้นทุน การดูแลรักษาหลังจากปลูกพืชไปแล้ว เพราะหลังจากพืชโตมาแล้ว เราจะจัดการลำบาก ยกตัวอย่างเช่น จะใส่ปุ๋ยในดิน ก็ทำลำบาก เช่น ข้าว  เราไม่สามารถใส่ปุ๋ยให้อยู่ใต้ดินได้ ใส่ได้เพียงหว่านลงไปบนดินเท่านั้น อัตราการระเหิด ก็จะสูงกว่า ปุ๋ยที่อยู่ในดินครับ เท่ากับ เราหว่านเงินทิ้ง พอเห็นภาพนะครับ
2 หาพันธุ์ ที่ดี และเหมาะสมกับดิน สภาพอากาศ
  ถ้าพันธุ์พืชที่คุณปลูกไม่เหมาะสม  ต่อให้ทำยังไงก็ไม่รวยสักที  ขาดทุนตลอด ถ้าโชคดีก็เหลือเงินนิดหน่อย เช่น เอาพืชไม่ทนแล้ง  มาปลูกในที่ขาดน้ำ ไม่มีน้ำ  แบบนี้ก็จบ  ครับ




วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้หมู กับ สวนผัก พริก อ้อย นา ข้าวโพด ผลไม้

ใช้ ปุ๋ย ขี้หมู อัดเม็ด กับ สวนผัก พริก อ้อย นา ข้าวโพด ผลไม้

สวนผัก กับ ปุ๋ย ขี้หมูอัดเม็ด ตราบัวฟ้า
สวัสดีครับ ห่างหายกันไปนาน ผมไปเก็บข้อมูลจากลูกค้ามาแบ่งปันกันครับ
ผมได้มีโอกาสไปคุยกับลุงโต เป็นเจ้าของสวนผักแถว ไทรน้อย ลุงแกบอกว่าแกทำมา 30 ปี เรื่องผัก นาข้าว แกชำนาญมาก แกยังสอนเทคนิคการทำ กุ๋ยช่ายขาวให้อีกด้วยครับ










 ผักกาด กับ ขี้หมู ใบเขียวใหญ่ ต้นอวบ 


ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้หมู กับ ไร่อ้อย

การรองพื้นปลูกอ้อย หรือ ใส่ปุ๋ยบำรุงรากอ้อยตอ ผมแนะนำขี้หมู เพราะจากประสบการณ์ของผมเอง ผมสังเกตเห็นว่า อ้อยแปลงที่ผมใส่ขี้หมูอัดเม็ด รากจะแตกดีกว่า และ จะแตกกอได้ดีกว่า ผมจึงแนะนำให้เกษตรกรหลายท่าน ใช้ขี้หมูรองพื้นปลูกอ้อย และ บำรุงราก อ้อยตอ และนอกจากบำรุงรากแล้ว ขี้หมูยังช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และยังช่วยฟื้นฟูดินอีกด้วย ขี้หมูมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงลพต้นของอ้อย ให้ลำต้นแข็งแรง ใบเขียว ตั้ง ยอดพุ่ง  รองใช้กันดูนะครับ









ปุ๋ยขี้หมู กับ นาข้าว 

เรื่องขี้หมูกับนาข้าวผมแทบไม่ต้องแนะนำอะไรมาก เพระาเกษตรกรส่วนมากน่าจะรู้ถึงคุณสมบัติที่ดีของขี้หมูกับนาข้าว  ช่วยให้แตกกอดี รากเดินดี ต้นสมบูรณ์ แถมดินก็ยังดีอีก



ดูเอาเองละกันครับ รูปผลงานของลูกค้าที่กำแพงเพชร ครับ


ลูกค้าท่านนี้บอกว่า เค้าเอา ขี้หมูอัดเม็ด ไปรองพื้น เพื่อช่วยให้พืชแข็งแรงทนโรคมากขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยครับ ต้นทุนก็จะถูก แกบอกว่ารายได้ดีกว่าทำนาเยอะ ยิ่งช่วงกินเจ  กำไรจะดีมากครับ
ขี้หมูจะเหมาะกับการ รองพื้น ก่อนปลูกครับ เพราะจะช่วยเพิ่มธาตอาหารหลัก และ อาหารรอง ตามที่พืชต้องการคับ  นี่จากประสบการณ์ตรงเลยนะครับ แฮๆๆๆ   เป็นอีกอาชีพ เอามาให้พิจรณา คราบ

ปุ๋ย ขี้หมู ขี้ไก่ อัดเม็ดต้อง ปุ๋ยอินทรีย์ตรา บัวฟ้า


วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคนิค การลดหญ้า และ บำรุงดินไปในตัว

เทคนิค การลดหญ้า และ บำรุงดินไปในตัว ในแปลงอ้อย
โดยการนำเอาวิธีของแปลงผักมาประยุคใช้
การใช้ ใบหญ้าคา แฝก ฟาง มาคุมดินไว้ตามโคนอ้อย ช่วงอายุประมาณ 2 เดือน เพื่อไม่ให้แดดส่องถึงดิน ลดการระเหยของน้ำในดิน
การทำแบบนี้เหมาะกับที่ดินที่ไม่เยอะมาก เพราะคงต้องใช้แรงงานคนในการทำครับ
แต่ช่วยลดหย้าและรักษาดินได้ดีครับ


หรืออีกแบบก็คือ เวลาตัดอ้อย เราก็ปล่อยใบอ้อยให้คลุมดินไว้ แต่อัตราการแตกกอ จะน้อยกว่า การเผาใบครับ   แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ เมือเวลาผ่านไป เป็นระยะขึ้นปล่อง อัตราการขึ้นปล้องของอ้อย  แทบไม่ต่างกันครับ ผมทดลองมา 1 รอบครับ โดยที่ผมใส่ปุ๋ยอินทรีย์ รองพื้นไปตอนตัดรากด้วยครับ


สั่นๆ ง่ายๆ   เข้าใจง่าย



วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการปลูกมันสำปะหลังแนวใหม่ ผลผลิตประมาณ 30 ตันต่อไร่

มันสำปะหลัง เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบชาวบ้าน 30 ตันต่อไร่ รวมกลุ่มปลูกมันสำปะหลังแนวใหม่  พร้อมตั้งโรงงานแปรรูปขายเอง
หลังจากมันสำปะหลังที่เคยเป็นพืชนอกสายตาได้กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจอย่างมากหลังจากที่ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกับการคิดค้นเพื่อหาเทคนิควิธีการที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของมันสำปะหลังให้สูงขึ้นจนทำกำไรอย่างงามให้กับผู้ปลูก ทำให้มันสำปะหลังมีการขยายพื้นที่ปลูกกันทั่วประเทศทั้งในพื้นที่แหล่งผลิตเดิมและพื้นที่ใหม่ๆ แต่การปลูกมันสำปะหลังที่ผ่านมานั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะการปลูกมันในแบบเทวดาเลี้ยง มีการดูแลใส่ปุ๋ยบ้างเล็กน้อย ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้และแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต จากปัญหาตรงนี้จึงทำให้ผลผลิตได้น้อย หนี้สินก็ตามมา เช่นเดียวกับเกษตรกร ต.โพนงาม อ.กุดชุม จ.ยโสธร ที่แม้จะทำมันสำปะหลังกันมาแทบจะทั้งชีวิตแต่ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเลย แถมบางครั้งยังขาดทุนอีกด้วย ส่วนที่เพิ่มขึ้นมีแต่หนี้สิน จนกระทั่งหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะ ธกส. ได้เป็นหัวเรือใหญ่ เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจในการปลูกมันสำปะหลังแนวใหม่แบบลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต จนสามารถทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้ถึง 30 ตันต่อไร่ ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรได้อย่างงาม พร้อมกับส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเพื่อขยายเทคนิคนี้สู่เกษตรกรและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังภายใต้ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ คุณธรรม ครบวงจร จังหวัดยโสธร ที่รวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเข้ามาเป็นสมาชิกกว่า 30 กลุ่ม สมาชิกมากกว่า 1,000 คน พื้นที่ปลูกมันกว่า 3 หมื่นไร่
คุณขณิฏฐ์ศา สิงห์ศิริกุล เลขานุการเครือข่าย ให้ข้อมูลถึงที่มาของ การจัดตั้งเครือข่ายว่า เครือข่ายฯ เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลานมันระดับตำบลของจังหวัดที่เป็นสมาชิกของเครือข่าย มีการสร้างโรงอบเพื่อรองรับผลผลิตมันของสมาชิกที่พร้อมเปิดให้บริการได้ในต้นปีหน้านี้ รองรับการผลิตมันเส้นได้วันละ 300-400 ตัน เนื่องจากการแปรรูปผลผลิตจะได้มันเส้นอยู่ประมาณ 70% ของจำนวนมันสดที่ส่งเข้าโรงอบ หมายความว่าจะต้องมีมันสดเข้าโรงอบไม่น้อยกว่า 500 ตัน จึงเกิดการรวมวิสาหกิจชุมชนทั้งที่มีอยู่แล้วและจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อร่วมเครือข่าย โดยสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่มมีตั้งแต่ 7-50 คน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะให้กู้กลุ่มละ 1-2 ล้านบาท ขึ้นกับจำนวนสมาชิก อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี เมื่อครบปีหลังจากขุดมันแล้วสมาชิกก็จะนำเงินมาจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ย สมาชิกรุ่นแรกที่กู้ไปจะจ่ายคืนเงินก้อนแรกในเดือนมีนาคม 2557 นี้ โดยมีสมาชิกกู้เงินไปแล้วทั้งหมด 5 กลุ่ม เป็นจำนวนเงิน 8 ล้าน 3 แสนบาท โครงการมัน 30 ตันต่อไร่นี้เป็นเทคนิคที่ทาง ธ.ก.ส. นำมาส่งเสริมให้กับสมาชิกได้นำไปใช้ ซึ่งเป็นงานวิจัยจาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการถ่ายทอดเทคนิคนี้ทุกคน เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินไปในทิศทางเดียวกันได้
ใน ต.โพนงาม อ.กุดชุม จ.ยโสธร ได้มีการก่อตั้งรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมันเส้นอินทรีย์ส่งออก ในโครงการนี้มีกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ 8 กลุ่มนำร่อง มีสมาชิก 70 ราย มีพื้นที่การปลูกมันทั้งหมดประมาณ 2,000 ไร่ และหนึ่งในจำนวนกลุ่มที่กล่าวนี้ หนึ่งกลุ่ม ภายใต้การนำของ คุณประดิษฐ์ บุญทวี ประธานกลุ่ม เล่าว่า สมาชิกกลุ่มของเขามี 15 ราย มีพื้นที่ปลูกมัน 120 ไร่ เล่าว่า ในพื้นที่ของ ต.โพนงามแถบนี้จะปลูกข้าวและมันสำปะหลังกันเป็นหลัก โดยเฉพาะมันนั้นเมื่อก่อนก็ปลูกแบบเทวดาเลี้ยงเหมือนที่เคยทำกันมา ชาวบ้านดูแลใส่ปุ๋ยกันปีละครั้งสองครั้ง ผลผลิตที่ได้ก็น้อยไม่คุ้มกับการต้องเสียเวลาปลูกกันทั้งปี ผลผลิตเพียง 3-5 ตัน/ไร่เท่านั้น เมื่อปีที่ผ่านมาทาง ธกส.ร่วมกับนักวิชาการ ได้ทำโครงการปลูกมัน 30 ตันต่อไร่ โดยเน้นให้เกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สามารถต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้ แล้วยังมีลานมันสถานที่รับซื้อเป็นของทางกลุ่มอีกด้วย คุณประดิษฐ์ บอกว่า ส่วนมากจะปลูกมันกันก่อนปลูกข้าวและหลังปลูกข้าวก็ได้ เริ่มปลูกในช่วงเดือน พ.ย. – เม.ย.และ พ.ค.ส่วนคนที่มีพื้นที่เยอะก็จะทยอยปลูกกันตลอดทั้งปี ก่อนหน้านี้เกษตรกรปลูกมันได้เพียงแค่ 2-2.5 ตันต่อไร่ ปีที่ผ่านมามีแปลงสาธิตของโครงการปลูกมัน 30 ตันต่อไร่ แรกๆนั้นก็ไม่อยากจะเชื่อ แต่เมื่อผลผลิตที่ได้นั้นการันตีว่าได้ผลผลิต 30 ต่อไร่จริง จึงได้ไปทดลองปลูกในไร่ของตนเองจำนวน 1 ไร่ ซึ่งก็ให้ผลผลิตเป็นจริง จากนั้นจึงได้ขยายพื้นที่ปลูกเป็น 30 ไร่ จุดแข็งของการปลูกมัน 30 ตันต่อไร่นี้ เน้นการใช้อินทรีย์ขี้หมูและน้ำหมักชีวภาพ โดยจะใส่ปุ๋ยขี้หมูรองพื้นก่อนปลูกไร่ละ 1 ตัน ที่สำคัญก็คือ การเตรียมดินต้องตีดินให้ละเอียด เพื่อให้รากและหัวเจริญเติบโตได้ดี และการใช้ท่อนพันธุ์มันที่ปลูกโดยใช้เทคนิคการทุบตาซึ่งจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
32
เทคนิคการปลูกมันสำปะหลังแนวใหม่ การันตีผลผลิต 30 ตันต่อไร่
1.ขั้นตอนการเตรียมดินและแปลงปลูก
ไถแปลงปลูกโดยใช้ผาน 3 จากนั้นอีกประมาณ 7 วันให้ไถแปลงปลูกโดยใช้ผาน 5 หรือ ผาน 7 หลังจากปรับพื้นที่แล้ว ให้โรยปุ๋ยชีวภาพ เช่น มูลไก่ มูลสุกร มูลวัว ไร่ละ 2 กระสอบทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน แล้วจึงพ่นน้ำหมักสุกรให้ทั่วแปลง แล้วไถยกร่องด้วยผาน 3 ความสูงร่องประมาณ 50 ซม. ระยะห่างในการปลูก 1×1 เมตร ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานจึงนำท่อนพันธุ์มาลงปลูก
2.การเตรียมท่อนพันธุ์ด้วยเทคนิคการทุบตา
ตัดท่อนพันธุ์ขนาดความยาว 40-60 ซม.ใช้เลื่อยตัดเท่านั้น แล้วทุบตาท่อนพันธุ์ส่วนที่จะปักลงในดิน ความยาว 25 ซม.หรือประมาณ 5-7 ตา นับจากโคน โดยทุบด้วยไม้ที่มีลักษณะเป็นทรงกลมแค่แตก ซึ่งก็ระวังอย่าให้แก่นแตก เสร็จแล้วน้ำท่อนพันธุ์ที่ทุบตาแล้วแช่ในน้ำหมักมูลสุกร 1 คืน ประมาณ 10-12 ชม. โดยวางท่อนพันธุ์ในแนวนอนให้น้ำหมักท่วมท่อนพันธุ์ เมื่อได้ท่อนพันธุ์ที่แช่น้ำหมักแล้วก็ให้นำไปปักในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ โดยปักส่วนที่ทุบตา ความยาว 25 ซม.ลงในดิน ให้ท่อนพันธุ์ส่วนที่อยู่บนดิน มีความยาว 15 ซม. ก่อนปักท่อนพันธุ์ลงไปควรใช้ไม้แหลมเสียบนำก่อน ให้ระยะห่างต่อต้น 1×1 เมตร 1 ไร่ปลูกได้ 1,600 ต้น ซึ่งส่วนของตาที่ทุบจะเป็นส่วนที่เกิดหัวมันขึ้นมา
3.การดูแลในแปลงปลูก
หลังจากปลูกประมาณ 15 วันท่อนพันธุ์จะแตกยอดให้ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักมูลสุกรให้เปียกโชก ทั้งส่วนบนและใต้ใบในอัตรา 1:20 ส่วน (ใช้มูลสุกรมาหมักทิ้งไว้ 1 คืน โดยเติมน้ำให้ท่วมมูลสุกรแล้วกรองเอาเฉพาะส่วนของน้ำ นำมาเติมน้ำ 20 ส่วนก่อนนำไปใช้) และฉีดพ่นน้ำหมักมูลสุกรอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 15 วัน จนครบ 6 เดือน ช่วงเวลาที่ควรฉีดพ่นน้ำหมักมูลสุกร ได้แก่ ตอนเช้ามืดหรือตอนเย็น เพราะเป็นเวลาที่ปากใบเปิด
4.การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการรับซื้อผลผลิต
มันสำปะหลังอายุ 8-12 เดือนก็จะสามารถขุดหัวมันได้แล้ว โดยหัวมันแต่ละต้นจะให้น้ำหนักประมาณ 25-30 กก. เลยทีเดียว จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 30 ตัน เมื่อเก็บเกี่ยวหัวมันขึ้นมาแล้ว เกษตรกรก็จะนำมาสับ แล้วตากแห้งใช้เวลา 3 วันก็ขายได้ ซึ่งปัจจุบันการแปรรูปมันเพื่อจำหน่ายจะใช้วิธีการสับด้วยมือ และนำมาขายให้กับลานรับซื้อของกลุ่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากทาง ธกส. โดยจะรับซื้อทั้งมันแห้งและมันสด ปริมาณการรับซื้อในแต่ละวันนั้น หากเป็นช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะได้ประมาณ 130-150 ตันต่อวัน หลังเกี่ยวข้าวจะได้ประมาณ 60 ตันต่อไร่ เนื่องจากช่วงหลังเกี่ยวข้าว เป็นหน้าฝน พื้นดินต่ำ ทำให้น้ำขังเกิดอาการหัวเน่าเสีย ฉะนั้น ในเขต ต.โพนงาม จึงปลูกกันในเดือน พ.ย. ราคามันสดที่รับซื้อ 2.50 บาท มันแห้ง 5 บาท ช่วงที่ราคาถูกจะเป็นช่วงก่อนทำนา เนื่องจากเปอร์เซ็นต์มันไม่ได้ถึง 30% ได้เพียง 22 % ราคาจึงลดลงเหลือเพียงแค่ 2 บาท ถ้าเป็นช่วงที่มันได้ราคาค่อนข้างดี จะเป็นช่วงหลังปีใหม่ไปแล้วอาจจะได้ 3 บาทต่อกก. คุณประดิษฐ์ บอกว่า ในพื้นปลูกร่วมกับสมาชิก 120 ไร่ ได้ไร่ละ 35 ตัน นอกจากผลผลิตเพิ่มแล้ว ต้นทุนการผลิตยังลดลงอีกด้วย โดยต้นทุน 1 ไร่ ลงทุนประมาณ 10,000 บาท กำไร 50,000 บาทต่อไร่ต่อปี

ในต้นปีหน้าโรงอบของเครือข่ายที่จะสามารถเปิดให้บริการได้นั้นจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องขายมันสับมือแต่จะขายหัวมันสดซึ่งจะนำมาผ่านเครื่องสับและเครื่องอบที่ทันสมัย สามารถรองรับผลผลิตได้มากถึง 500 ตันมันสด ซึ่งจะแปรรูปได้มันแห้ง 200-300 กก. โดยมันสด 2 กก. จะแปรรูปเป็นมันแห้งได้ 1 กก. นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลเพิ่มเติม  คุณขณิฏฐ์ศา สิงห์ศิริกุล โทร.093-4546354
สั่งซื้อปุ๋ยขี้หมู  ศุภวัตร  0813942485   http://food-plants.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เพิ่มผลผลิตอ้อย ปลูกอ้อย ให้ได้ 20-30 ตันต่อไร่ อ้อยปลูก อ้อยตอ

                  การเพิ่มผลผลิตอ้อย แน่นอนว่า เราต้องเพิ่มอาหารให้อ้อยเช่นกัน แหล่งที่มาของอาหารอ้อยก็มี ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปและปุ๋ยต่างๆ รวมถึง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน  และ นอกจากการอาหารของอ้อยแล้ว  เรายังต้องช่วยให้อ้อยหาอาหารได้ง่ายขึ้น โดยการทำดินให้ร่วนซุย และ รากเดินได้ดี อาจมีการกระตุ้นรากบ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหาอาหาร อ้อยก็โตเร็ว ลำใหญ่ เรื่องแบบนี้ผมว่าใครๆก็คงรู็  คราวนี้เรามาดูถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องที่บางคนอาจจะไม่ทราบ


  1. เราต้องเลือกใช้ปุ๋ยหรืออาหารของอ้อย  ในแบบที่อ้อยสามารถดูดซึมได้ง่ายและเร็ว
         เกษตรกรที่ทำอ้อยมาคงรู้ดีว่า ใส่ปุ๋ยแล้ว อ้อยไม่กระดิก ใส่ไปแล้ว อ้อยยังเฉย  มันเป็นยังไง  ก็เพราะเหตุผลนี้แหละครับ
  2. เราต้องปรับดินก่อนปลูกอ้อยเพื่อให้อ้อยดูดอาหารได้ง่าย
         ชาวบ้านทั่วไปมักใส่ ขี้ไก่แกลบ   ผมเองก็เห็นด้วยครับ เพราะผมก็ได้พูดถึงแกลบไว้เยอะแล้วแต่จะบอกเพิ่มเติมว่า ขี้ไก่ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน ในการเปลี่ยน คุณสมบัติทางเคมี เพื่อให้พืชดูดซึมได้ง่ายขึ้น การใช้วิธีนี้จะทำให้ดินคุณภาพดีไประยะยาวสัก 3 ปี  และต้นทุนถูกครับ  เพียงแต่ ในความเห็นผม มันยังไม่พอครับเราต้องใส่สารอาหารเข้าไปมากกว่านั้น
  3. ระยะการใส่ปุ๋ย ควรใส่ให้ถูกจังหวะ  ถ้าใครมีระบบน้ำ ผมว่าคงจะรู้ทุกคน แต่ถ้าใครรอน้ำฝน ส่วนใหญ่ ก็รอฝนมาแล้วใส่ปุ๋ย หรือ ใส่รอฝน  ผมเลยขอแนะนำเพิ่มอีกนิด  ถ้าใส่ปุ๋ยแล้ว ช่วงที่เรายังฉีดน้ำได้ ให้เอารถเข้าร่องอ้อย แล้วเอาน้ำที่ผสม ฮอโมนต่างๆไม่ว่าจะหมักเองหรืออะไรก็ไดตาม ราดซ้ำไปอีกทีหลังใส่ปุ๋ยครับ  
  4. การกระตุ้นตออ้อย ควรรีบกระตุ้นตออ้อยอย่าทิ้งไว้นานหลังจากเผา 1-2 สัปดาห์ รีบตัดราก และฉีดฮอร์โมน กระตุ้นรากอ้อย ให้เกิดใหม่ได้เยอะๆ จะได้ง่ายต่อการดูดซึมอาหารของอ้อย อ้อยก็จะฟื้นเร็ว แทงยอดเร็ว
  5. การเว้นระยะการปลูก เทคนิคนี้เป็นความคิดของผมที่เคยทำมานะครับ  การเว้นระยะร่องอ้อย ถ้าเราใช้รถเข้าร่องให้เว้นสัก 160-170  แล้วระยะตอ 2 ตอ 3 รถก็จะยังเข้าร่องได้ปกติ ไม่เหยียบตออ้อย แต่ถ้าไม่มีรถเข้าร่องอ้อย หรือไม่คิดจะเอารถเข้าร่อง  แนะนำว่าให้เว้นประมาณ 100-120 ครับ  ดูว่าจะถี่ไปใช่ไหมครับ วิธีนรี้จะทำให้อ้อยลำเยอะขึ้น แต่ถ้าอยากให้อ้อยลำใหญ่เราต้องบำรุงดินให้ดี ผมแนะนำให้ใส่ขี้หมูอีดเม็ดลองพื้นครับ  จะช่วยให้อ้อยสมบูณได้ดีครับ


    เอาเท่านี้ก่อนนะครับเดี่ยวมาเพิ่มเติมให้นะครับ


วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การกำจัด หนอนกอ และ เพิ่มการแตกกอ

ว่าด้วยเรื่องหนอนกอ และ การแตกกอ



จากประสบการณ์ของลุงเกษม ที่บอกผมมาว่า ให้เอา บรเพชรแก่ 10 กก มาตำ และเอาถัง 100 ลิตร ใส่น้ำมา ให้เต็ม เอาบรเพชรแช่ ไว้ 2 คืน จากนั้นเอาไปปล่อยในนาข้าวให้ทั่ว จะช่วยให้ข้าวแตกกอได้ดี ลดปัญหาหนอนกอด้วย
ผมก็นำสูตรมานี้ใช้บ้างและก็ได้ผลจริงๆ ผมเลยคิดเพิ่มหน่อยนึงโดยเองไปใส่กับ น้ำหมักสูตรแตกกอ แตกยอด ได้ผลดีครับ

ใครลองใช้แล้วได้ผลยังไงส่งข่าวกันบ้างนะครับ  ผมเองก็ทดลองทำละ มันก็ได้ผลประมาณ 70-80% ครับ

ติดต่อผมได้ที่   https://www.facebook.com/foodplants.thai

การปรับเปลี่ยนการทำนา มาเป็นข้าวอินทรีย์

ประสบการณ์ตรง การปรับเปลี่ยนการทำนา มาเป็นข้าวอินทรีย์



ย้อนไปเมื่อ 4 ปีก่อน ผมเริ่มคิดจะเปลี่ยนการทำเกษตรให้เป็นอินทรีย์ทั้งหมด จึงเริ่มจากทดลองในแปลงสาธิต 4 ไร่ หาสูตร วัตถุดิบ อินทรีย์วัตถุ ที่ใครว่าเจ๋ง ผมเอาหมด ทดลองจนปรากฏว่า ได้ผลดีมาก ปีต่อมา ผมขนายผลเป็น 20 ไร่ ปรากฏว่า ไม่ได้ผลเหมือนแปลงทดลอง ปัญหาในคัร้งนั้นเกิดจาก พื้นที่ที่กว้างขึ้นกว่าเดิม การดูแลไม่ทั่วถึงเช่น หญ้า เราจัดการยากมาก อินทรีย์วัตถุที่ใช้ก็มีจำกัดไม่พอในการเอามาใส่นา เช่นแกลบ จึงทำให้ผลผลิตได้น้อยลง ผมก็ปรับเปลี่ยน กระบวนการเสียใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตเท่าเดิมหรือดีขึ้น แต่เราก็จะประหยัดต้นทุน และ ดินเราก็จะไม่เสียไปด้วย เพราะเรายังต้องหากินกับดินผืนนี้อีกนาน






ผมจะแนะนำลูกค้าเสมอว่า หากไม่ได้ทำข้าวอินทรีย์100% ขาย จะแนะนำให้ใช้เคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ผมไปก่อนช่วง 1-2 ปีแรกเพราะดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน บางที่ดินแข็ง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดสารอาหาร ดินทราย ล้วนแต่มีผลกระทบทั้งสิ้น ผมจะแนะนำให้ใส่เคมีบ้างแต่ไม่ต้องเยอะ แน่นอน ต้นทุนเราจะลด ข้าวเราอาจจะได้เท่าเดิม แต่เราไม่ต้องเสียค่าบำรุงดิน แล้วเราก็ทยอยเติมอินทรีย์วัตถุลงดินทุกรอบการปลูก เชาน การหมักฟาง การใส่แหนแดงลงดิน ใส่แกลบขาว
ถ้าเราเปลี่ยนกระทันหันและดินเรายังไม่ดีพอ จะทำให้ ข้าวได้ผลผลิตน้อยลง แต่ดินเราก็จะดีขึ้น ต้นทุนก็จะน้อยลง
แต่ถ้าหากดินกลับมามีความสมบูร์แล้ว ข้าวเราก็จะแสดงออกอย่างชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องไปใส่อะไรมากมายแล้ว
ไม่ว่าตำราเล่มใด้ก็เขียนไม่ตรงกับความต้องการของดินเราแน่ครับ เราต้องเอามาคิดและปรับให้เข้ากับพื้นที่ของเรา ท่านต้องเริ่มทำ และท่านจะเจอปัญหา พอเจอปัญหา ก็แก้ปัญหา แล้วท่านจะประสบความสำเร็จครับ

https://www.facebook.com/foodplants.thai


วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

การปรับสภาพดิน โดยใช้แกลบ

การปรับสภาพดิน  โดยใช้แกลบ

เรื่องการปรับสภาพดิน  โดยใช้แกลบ มีมานานมากแล้ว แต่ ไม่ค่อยได้รับความนิยมเพระาว่า
แกลบ มักจะทำให้หญ้าขึ้นเยอะ  คนเลยไม่ชอบใช้  การแก้ปัญหาหาก็คือ เอาไปเผาครับ ทำเป็นแกลบเผา  แต่ข้อเสียคือ ทำได้น้อย ใช้เวลานาน  วันนี้ผมเลยมาบอกวิธีที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้ครับ

เอาแกลบมาจากโรงสี  (แกลบเก่า)  เอามากองทิ้งไว้ในแปลง  ตากแดดให้นานเท่าที่จะทำได้  รอฝนลงรอบแรก หรือจะรดน้ำก็ได้ครับ  ก็ไถ ผลาน 3 เลย ลงเอาแกลบลงไปไร่ละ 800-1000 กก   ผมใช้ในแปลงอ้อย นะครับ   ผมก็รดด้วยน้ำหมัก ที่ช่วยเร่งการย่อยสลาย  สิ่งที่ได้รับคือ  ดินจะไม่แน่น และดินก็จะมี K เพิ่มขึ้นมาอีกโดยไม่ต้องไปซื้อปุ๋ย  ดินจะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

ผมทำแบบนี้ ทุกครั้งที่มีการปลูกอ้อยรอบใหม่  อ้อยจะทนแล้งได้ดี  และ รากจะหากินได้ง่ายครับ



เรื่องนี้สั้นนิดเดียวครับ


มีอะไรโทรมาคุยกันได้ครับ  0813942485

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การปลูกอ้อย แบบ ดินไม่เสีย

ผมขอ อนุญาติ พูดถึงการปลูกอ้อยบ้างนะครับ ในความเห็นส่วนตัวผม ถ้าเทียบระหว่าง อ้อย มันสำประหลัง นาข้าว แล้ว อ้อย น่าจะได้ผลตอบแทนดีที่สุด (จากที่ผมได้ทดลองทำเองครับ)
มัน จะเหมาะกับคนที่มีที่ดิน แต่มีเวลาน้อย หรือ ที่ดินนั้นแห้งแล้งมาก
นา ก็เหมาะกับ พื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำเยอะ เพียงพอต่อการทำนาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
อ้อย เหมาะกับพื้นที่ ที่น้ำไม่ท่วมขังเป็นเวลานาน พอทนน้ำได้พอสมควร แต่ข้อเสียคือ ระหว่างปี อ้อยจะไม่ทำรายได้ให้เลย ดังนั้นต้องหารายได้จากทางอื่นมาด้วยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างปี

ที่ผมเทียบว่าอ้อยทำกำไรดีสุด ผมเทียบจาก เวลา 3 ปี ต้องใช้เงินลงทุน เท่าไหร่ เวลาที่เราเสียไปกับการทำงาน ผลตอบแทนที่ได้ และ ความสุขในชีวิต   


ผมเริ่มจากการเอา ขี้หมูอัดเม็ด มารองพื้นปลูก อ้อย และ บำรุงอ้อยตอ ครับ

เดี๋ยวนี้ มีอุปกรณ์ทุ่นแรงครับ เครื่องฝังปุ๋ย ใช้ง่ายไม่ต้องเดินหว่านเองให้เมื่อยละคัรบ



เมื่ออ้อยโตได้ประมาณ 2-3 เดือน ก็จะใส่ปุ๋ยกันอีกรอบ ผมแนะนำให้ใช้ปุ๋ย เคมีร่วมกับ ปุ๋ยขี้หมู ครับ
เพราะขี้หมูอัดเม็ดตราบัวฟ้านี้ จะช่วยให้ดินร่วนซุย รากเดินดี พอรากแข็งแรก ก็จะดูซึมอาหารได้ง่าย และที่สำคัญ ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้หมู ตราบัวฟ้านี้ ไม่ผ่านท่ออบร้าน จะมีจุลินทรีย์ ช่วยบำรุงดิน และไปย่อยสลายสารอาหารในดิน ทำให้เราประหยัดค่าปุ๋ยได้เยอะครับ


สนใจ ปุ๋ย ขี้หมู ตราบัวฟ้า ติดต่อสอบถาม  0813942485 





ปลูกอ้อย ปลูกมัน ทำนา ลองมองหา ปุ๋ย ขี้หมู บัวฟ้าดูนะครับ







ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ VS ข้าวโพดหวาน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชอีกชนิดที่ปลูกกันเยอะในประเทศ และ ยังปลุกเยอะในพื้นที่เชิงเขา แต่ ราคาจะขึ้นหรือลงนั้นอยู่ที่ตลาดต่างประเทศครับ ผมจึงอยากขอแนะนำให้กล้าที่จะเปลี่ ยนแปลงมาปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้คนกินบ้าง ไม่ต้องเปลี่ยนมาทั้งหมดก็ได้ และนำมาแปรรูปเป็นอย่างอื่น เช่น น้ำนมข้าวโพด หรือ ข้าวโพดกระป๋อง(เราเอาข้าวโพดไปส่ง โรงงาน) ถ้าเมื่อไหร่ ราคาตก เราก็ต้มขายเองบ้าง แจกกันบ้าง สำหรับผม อยากให้จัดเทศการกินข้าวโพด น้ำนมข้าวโพด เพื่อที่สินค้าจะได้ไม่ล้นตลาด อ่อ และก็ประชาสัมพันให้คนรู็ว่าประโยชน์ของมันเยอะแยะมากมาย ไม่น้อยไปกว่า สินค้านำเข้าจาก ต่างประเทศ คนไทยจะได้ช่วยกันกิน ช่วยกันใช้ ไทยก็จะจเริญ

https://www.facebook.com/foodplants.thai