วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหา นาข้าว โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight)

โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight)  





ปัญหานี้พี่น้องชาวนาเจอกันเยอะครับ จึงเอามาให้ดูครับ 
พบมาก ใน นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต
สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk) (Corticium sasakii (Shirai) Mats.)
อาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่าง
มากมาย

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา
การป้องกันกำจัด
  • หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา
  • กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค
  •  ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซับทิลิส (เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์) ตามอัตราที่ระบุ
  • ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โปรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน (25%ดับบลิวพี)
    หรืออิดิเฟนฟอส ตามอัตราที่ระบุโดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อม ๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก
 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น