วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใส่ธาตุอาหาร ปลูกอ้อย ให้ถูกวิธี


ธาตุอาหารสมดุลและใส่ถูกวิธี

ความต้องการธาตุอาหารของอ้อย อ้อยเหมือนพืชทั่ว ๆ ไป ที่ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต  และใช้สะสมน้ำตาล  สำหรับธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K)   เป็นธาตุอาหารที่ทำให้อ้อยให้ผลผลิตสูง โดยทั่วไปอ้อยจะแสดงอาการขาดให้เห็นอยู่เสมอ  ส่วนธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) ซัลเฟอร์ (S) สังกะสี (Zn) โบรอน (B) คอปเปอร์ (Cu) โมลิบดีนัม (Mo) และซิลิคอน (Si) มีรายงานที่อ้อยแสดงอาการขาดเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น ธาตุอาหารรองเหล่านี้มีความสำคัญในการช่วยการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้าขาดอาจทำให้อ้อยเจริญเติบโตไม่ปกติ [ สำหรับ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) มีปริมาณพอในน้ำและอากาศ
การใช้ปุ๋ยที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับชนิดพืช รวมทั้งการเขตกรรมและการจัดการดินที่เหมาะสมเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตของพืช สำหรับการใช้ปุ๋ยจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ อีกมากทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังแสดงในตาราง
ปัจจัยที่ลดประสิทธิภาพของปุ๋ย
%
การเตรียมแปลงไม่ดี
10-15
พันธุ์ไม่เหมาะสม
20-40
ปลูกล่าช้า
20-40
งอกไม่สม่ำเสมอ
5-20
จำนวนต้น/ไร่ ไม่เหมาะสม
10-25
น้ำไม่พอ
10-20
วัชพืชมาก
5-50
โรคแมลงทำลาย
5-50
ธาตุอาหารไม่สมดุล
20-50
วิธีการใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม
5-10
(FAO, 1984)
ความสำคัญของธาตุอาหาร

(ก) ธาตุอาหารหลัก คือธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก  และดินที่ใช้ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการเพาะปลูกส่วนใหญ่ ประสบปัญหาการขาดธาตุเหล่านี้   3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม

ไนไตรเจน
โดยทั่วไปธาตุไนโตรเจนจะเป็นธาตุอาหารพืชตัวแรกที่จำกัดผลผลิตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากพืชต้องการธาตุไนโตรเจนปริมาณมาก แต่ไนโตรเจนมีการเปลี่ยนรูปอยู่ตลอดเวลา การทำการเกษตร ในเขตร้อนทั่วไปในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณไนโตรเจนในธรรมชาติ ที่ได้จากอินทรียวัตถุนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชการจัดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชนั้น ต้องคำนึงถึงอัตรา ชนิด เวลาใส่ และวิธีใส่ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุด  รูปของปุ๋ยไนโตรเจนที่นิยมใช้ในเขตร้อน คือ ยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งปุ๋ย ทั้งสองชนิดมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ดังนี้
(1) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเมื่อหว่านลงไปในดิน จะไม่สูญเสียไนโตรเจนง่ายเหมือนปุ๋ยยูเรีย โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่เกิดการระเหิด (การสูญเสียจากดินในรูปของก๊าซ, Volatilization) ของแอมโมเนียมสูงหรือในดินที่ขาดกำมะถัน
(2) ปุ๋ยยูเรียดีกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต คือ มีเนื้อธาตุไนโตรเจนสูงจึงควรใส่ในอัตราที่น้อยกว่า
(3) ผลตกค้างของปุ๋ยไนโตรเจนในดินหลังฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยยูเรีย หรือ แอมโมเนียมซัลเฟตคือก่อให้เกิดความเป็นกรดในดิน แต่ผลตกค้างของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก่อให้เกิดความเป็นกรดสูงกว่าปุ๋ยยูเรียสองเท่า
ปุ๋ยไนเตรทใช้น้อยเนื่องจากมีประสิทธิภาพต่ำในเขตร้อน ปุ๋ยอินทรีย์ไนโตรเจนดีที่สุด แต่ต้องใช้ในปริมาณสูง จึงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะสัปดาห์แรก ๆ ของการเจริญเติบโตอ้อยจะดูดธาตุไนโตรเจนในปริมาณมากกว่าที่ต้องการใช้จริง ๆ ความเข้มข้นของไนโตรเจนในอ้อย ทั้งส่วนบนดิน และใต้ดินเพิ่มขึ้นถึงขีดสูงสุด เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว การลดลงของไนโตรเจน อาจเนื่องมาจากอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้ไนโตรเจนเพิ่มขึ้นนั่นเองเมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมากอัตราการดูดซึมก็จะเพิ่มขึ้น ขณะที่อ้อยอายุ 6 เดือนนั้น ส่วนยอดกำลังเติบโตเต็มที่ การดูดซึมไนโตรเจนจะเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้นอัตราการดูดซึมจะลดลง
ปริมาณไนโตรเจนในอ้อยจะแตกต่างกันตามแหล่งปลูกอ้อยที่ปลูกและเก็บเกี่ยวเร็วนั้น จะมีปริมาณไนโตรเจนสูงกว่าอ้อยที่มีอายุมากกว่าเสมอ ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน มักจะต่ำ เนื่องจากส่วนหนึ่งจะถูกจุลินทรีย์ดินนำไปใช้ส่วนหนึ่ง อาจถูกเปลี่ยนรูปเป็นไนเตรท และอาจ สูญหายไปโดยการชะล้างหรือบางส่วนอาจระเหยสูญหายไปในบรรยากาศ ซึ่งหมายความว่าจะต้องใส่ไนโตรเจนจำนวนมากกว่าที่พืชดูดมาใช้จริง ๆ อ้อยปลูกจะสามารถใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได้มากกว่าอ้อยตอ เพราะอ้อยปลูกมีระบบรากดีกว่าจึงมีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูงกว่า ส่วนอ้อยตอนั้นเนื่องจากโครงสร้างของดินเสื่อม การระบายอากาศไม่ดี ระบบรากจึงมีประสิทธิภาพต่ำกว่าอ้อยปลูก ดังนี้ถ้ามีการไถพรวนดินในระหว่างร่องของอ้อยตอจะทำให้การใช้ปุ๋ยดีขึ้น
จากปัญหาประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย (recovery) ไนโตรเจนของพืชในเขตร้อนต่ำ จึงได้มีการศึกษาหาแนวทางการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้สารเคลือบปุ๋ยยูเรียให้ละลายน้ำ ช้าลง เพื่อจะได้ค่อย ๆ ละลายออกมา (slow release) ให้พืชใช้ตลอดฤดูกาล โดยปกติประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของไนโตรเจนมีค่าอยู่ในช่วง 20-70 % ของปุ๋ยที่ใส่ ขึ้นอยู่กับชนิดพืช เช่น พืชตระกูลหญ้ามีค่า ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูงเนื่องจากมีระบบราก แบบ fibrous ที่ดูดกินไนโตรเจนได้มาก
ลักษณะของพืชที่แสดงออกเมื่อขาดไนโตรเจนที่สังเกตุได้ง่ายคือใบพืชจะมีสีเหลือง (chlorosis) เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ในใบน้อย ครั้งแรกจะปรากฏในใบแก่และลุกลามต่อไปยังใบอ่อนที่อยู่ด้านบน ข้อจะถี่
ฟอสฟอรัส
โดยทั่วไปดินในเขตร้อนส่วนใหญ่มีการสลายตัวสูง มักจะพบว่าขาดฟอสฟอรัส เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนรูปไปเป็นฟอสฟอรัสที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ (immobilization) ชนิดของฟอสฟอรัสในดินขึ้นอยู่กับอายุการสลายตัวของดิน ดินที่มีการสลายตัวน้อยจะมี Ca-P มาก ส่วนดินที่สลายตัวมากจะมี Fe-P มาก การเปลี่ยนแปลงรูปของฟอสฟอรัสในดินขึ้นอยู่กับ pH ของดิน ดินที่มี pH ต่ำจะมี Al-P และ Fe-P สูง ส่วนดินที่มี pH สูงจะมี Ca-P สูง ความสามารถในการละลายและปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาให้พืชนั้น Ca-P ละลายได้ดีกว่า
พืชแต่ละชนิดมีความต้องการฟอสฟอรัสแตกต่างกัน บางชนิดสามารถเจริญเติบโต ได้ดีในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ สำหรับอ้อยดูดกินฟอสฟอรัสประมาณ 20-70 กก.P ดังนั้นการแนะนำอัตราปุ๋ยจึงแตกต่างกันออกไป ชนิดของปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใช้ในเขตร้อน ได้แก่ โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต หรือทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต แต่ต้องใส่ครั้งละไม่มากนักเพื่อลดการตรึงฟอสเฟตของดิน หรือใช้ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายช้า เช่น หินฟอสเฟต (rock phosphate) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินกรดเขตร้อน

มีผลมากมายต่อการเจริญเติบโตของรากและหน่อ ธาตุฟอสฟอรัสช่วยในการสร้างโปรตีน และเชื่อกันกว่าทำหน้าที่บังคับการทำงานของเซลล์ส่วนใหญ่ ปริมาณฟอสฟอรัส ทั้งหมดในดินแต่ละแห่งแตกต่างกัน และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์จะแตกต่างกันยิ่งขึ้น ในบริเวณดินที่มีความชื้นมาก ๆ รากอ้อยจะเจริญอยู่ใกล้ผิวดินและสามารถใช้ฟอสฟอรัสที่ใส่บนผิวดินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดินนั้นมีใบแห้งที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ครั้งก่อนปกคลุมอยู่ ในสภาพที่มีการชลประทานดินจะเปียกและแห้งสลับกันอยู่เสมอ สภาพดังกล่าว รากอ้อยจะไม่เจริญขึ้นมาใกล้ผิวดิน ดังนั้นรากอ้อยจึงไม่สามารถที่จะใช้ฟอสฟอรัส ที่ใส่บนผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับที่ใส่ใต้ผิวดินใกล้รากอ้อย

การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสแล้วไม่ได้ผลนั้น สาเหตุเนื่องจากการที่ดินตรึงธาตุนี้ไว้ดินที่ ปลูกอ้อยส่วนมากตรึงฟอสฟอรัสได้มาก แต่ก็สามารถช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดเนื่องจากการชะล้างการจัดการเพื่อลดการตรึงฟอสฟอรัส ทำได้โดยการใส่วัตถุบางชนิดลงไป เช่น การใส่ปูน หรือใส่สารพวกซิลิเกต ซึ่งปูนจะทำให้ค่า pH สูงขึ้น มีผลทำให้ฟอสฟอรัสถูกปลดปล่อยออกมา พืชสามารถใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินได้มากขึ้น
ปุ๋ยฟอสฟอรัสไม่แนะนำให้ใส่พร้อมกับน้ำชลประทาน ทั้งนี้เพราะฟอสฟอรัสจะถูกตรึงอย่างเหนียวแน่น โดยดินชั้นบน การเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยฟอสฟอรัส ควรคำนึงถึงการใส่ปุ๋ยดังกล่าวในรูปที่ละลายน้ำ ณ ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดนั่นคือ ใกล้รากอ้อยและใกล้ระดับล่างสุดของชั้นที่มีรากมาก ที่สุด ร่วมกับการไถให้ลึกถึงดินชั้นล่างเพื่อให้ฟอสฟอรัสที่ดินเก็บไว้จะได้เป็นประโยชน์ต่อพืช การผสมหินฟอสเฟตที่บดละเอียดกับดินชั้นล่างที่ขาดฟอสฟอรัสจะช่วยส่งเสริมให้อ้อยมีรากมากและหยั่งลึกด้วย
ลักษณะของพืชที่แสดงออกเมื่อขาดธาตุฟอสฟอรัสคือใบพืชที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่จะร่วงและมีสีชมพูหรือแดง เซลล์บนพื้นที่ของใบหรือก้านใบตายและเป็นจุดแห้ง ๆ (necrotic) ลำต้น แคระแกรน ใบมีสีเขียวเข้มหรือสีน้ำเงินแกมเขียว ลักษณะที่แสดงออกจะแสดงที่ใบแก่ก่อน
โปแตสเซียม
โปแตสเซียมเป็นธาตุที่จำเป็นต่อกิจกรรมหรือกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์พืช การสร้างและ การเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล การสังเคราะห์แสง การหายใจ การสร้างเอนไซม์ ความสามารถในการต้านทานโรคและแมลงของพืชตลอดจนคุณภาพของผักและผลไม้ ดังนั้นพืชจึงจำเป็นต้องใช้โปแตสเซียมในปริมาณสูง เพื่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี
ปริมาณความต้องการปุ๋ยโปแตสเซียมของพืชสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ปลูกในดินทรายหรือดินที่มีการสลายตัวสูง ชนิดปุ๋ยโปแตสเซี่ยมที่นิยมใช้ทั่วไปในเขตร้อน ได้แก่ โปแตสเซียมคลอไรด์ (60% K2O) โปแตสเซียมซัลเฟต (50% K2O) โปแตสเซียม-แมกนีเซียมซัลเฟต (22% K2O) และ โปแตสเซียมไนเตรท (44% K2O) แต่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์เป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กันมาก ไม่ว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน
การใช้ปุ๋ยโปแตสเซียม โดยทั่วไปนิยมใส่โดยการหว่านหรือผสมคลุกกับดิน ช่วงเตรียมดินปลูกพืช แต่ถ้าใส่รวมกับปุ๋ยไนโตรเจน จะต้องระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่รวมกันในดินมากเกินไปเพราะมีผลทำให้ดินเค็มจนเป็นอันตรายต่อการละลายน้ำได้สูง เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยฟอสฟอรัส ดังนั้นจึงจำเป็นต้องระมัดระวังในการใส่ปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับต้นพืช
อ้อย เป็นพืชที่ต้องการธาตุโปแตสเซียม ในปริมาณมากกว่าธาตุอาหารชนิดอื่นใด ทั้งหมด หน้าที่ของธาตุโปแตสเซียมมีมากมายหลายอย่าง เช่น ช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างโปรตีน การเคลื่อนย้ายโปรตีนและน้ำตาลต่าง ๆ ช่วยในการเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสูงต้นพืช ช่วยให้รากเจริญเป็นปกติ เป็นต้น จากบทบาทอันสำคัญของธาตุโปแตสเซียมที่มีบทบาทต่อการเปิดปิดของปากใบพืชนั่นเอง แสดงให้เห็นว่า ธาตุโปแตสเซียมมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อพืชและไม่มีไอออนชนิดใด ๆ ที่พบในพืชจะสามารถทำหน้าที่แทนได้เลย
อ้อยอายุ 3 เดือนแรก มีอัตราการเจริญช้ามาก แต่เมื่ออายุ 3-7 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วมาก อัตราการดูดซึมโปแตสเซียมจะเร็วมากขึ้น ปุ๋ยโปแตสเซียมมีผลต่อ ผลผลิต และความหวานของอ้อยพร้อมกัน ในกรณีที่ปัจจัยอื่น ๆ เหมาะสม โดยเฉพาะดินมีไนโตรเจนไม่มากเกินไป และดินนั้นมี โปแตสเซียมไม่เพียงพอ ถ้าดินมีไนโตรเจนมากเกินไปและถ้าปัจจัยอื่น ๆ ควบคุมการเจริญเติบโตและความหวานอยู่แล้ว การเพิ่มปุ๋ยโปแตสเซียมลงไปอีกจะไม่มีผลใด ๆ เพิ่มเติม
ปริมาณโปแตสเซียมที่อ้อยต้องการ ขึ้นอยู่กับชนิดดินนั้นมีความสามารถที่จะให้ โปแตสเซียมที่เป็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ดินเหนียวส่วนมากมีโปแตสเซียมเพียงพอ แต่ดินทราย อาจมี โปแตสเซียมไม่เพียงพอ ปริมาณปุ๋ยโปแตสเซียมในแปลงที่ให้ผลผลิต 10-12 ตัน/ไร่ อาจจะไม่ค่อยมีปัญหาแต่บางท้องที่ให้ผลผลิต 15 ตัน/ไร่ ควรให้ปุ๋ยโปแตสเซียมควบคู่กับการไถเตรียมดิน ในดินเหนียวควรให้ปุ๋ยโปแตสเซียมประมาณ 10-20 กิโลกรัม K/ไร่/ปี เมื่ออ้อยอายุประมาณ 3-7 เดือน ให้ปุ๋ย โปแตสเซียมประมาณ 15-30 กก./ไร่
ปริมาณโปแตสเซียมที่มีอยู่ในส่วนต่างๆ ของต้นอ้อยแตกต่างกันไปในระยะ 6 เดือนแรก ปริมาณโปแตสเซียมในใบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอ้อยมีพื้นที่ใบมากที่สุด หลังจากนั้นปริมาณโปแตสเซียมในใบจะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
อ้อยที่ขาดโปแตสเซียมจะเติบโตช้า ลำต้นผอม ใบแก่มีสีเหลืองส้ม และมีจุดสีเขียวอ่อนมากมาย เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งใบ แกนกลางใบด้านบนเป็นสีแดง ต่อมาใบเริ่มแห้งจากขอบใบและปลายใบและแห้งไปในที่สุด
ลักษณะของพืชที่แสดงออกเมื่อขาดโปแตสเซียม คือ ใบจะกิด chlorosis เป็นจุด ๆ กระจายทั่วไป ต่อมาเซลล์ที่อยู่ปลายใบและขอบใบไหม้ตาย จะแสดงอาการที่ใบแก่ก่อน นอกจากนั้นยังมีพืชอีก หลายชนิดเมื่อขาดธาตุนี้แล้วจะทำให้ปลายใบม้ว

ขอบคุณรูปภาพจาก  http://sfcrc.suphanburi.info/uthong84-11.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น