วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มีวิธี ปลูกอ้อย100ไร่ ของลุงผอง นครสวรรค์

         ผมได้มีโอกาศนั่งคุณกับคุณลุงผอง อายุ 75 ปี คุณลุงเป็นคนที่ขยันมากและแข็งแรงมาก อายุขนาดนี้แกยังขับรถไถเอง ดายหญ้าเอง ทำได้ทั้งวันไม่รู็จักเหนือย
ผมถามแกว่า ลุงทำอะไรบ้าง  ลูงผองตอบว่า



ทำนา 60 ไร่ 
ทำอ้อย 130 ไร่

ผมขอยกตัวอย่างการทำอ้อยของคุณลุงให้อ่านกันนะครับ

ผมถาม :  ลุงทำอ้อยกี่ไร่ครับ
ลุงตอบ : ลุงทำแปลงใหญ่ 100 ไร่ ผลผลิตได้ไร่ละ 13-16 ตัน  ถ้าตอแรกจะได้เยอะหน่อย ( ดูแล้วน่าจะน้อยไปนะครับ ผมฟังครั้งแรกผมยังคิดในใจว่าถ้าให้ผมทำ ผมทำให้ได้ไร่ละ 17 ตันขึ้นไป สบายๆ  ) 
ผมถาม :  ใส่ปุ๋ยกี่ครั้งครับ  
ลุงตอบ : ครั้งเดียว ตอนปลูกนั่นแหละ 
ผมถาม :  อ่าว ทำไมไม่ใส่เหมือนคนอื่นะล เป็นช่วงอายุเดือน ของอ้อย 
ลุงตอบ :  ลุงทำไม่ไหว และไม่อยากจ้างใคร ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น เพระาถ้าจ้างคนอื่นก็ไม่เหลือกำไร
ผมถาม :  ลุงไม่อยากได้ไร่ละ 17-20 ตันหรอ
ลุงตอบ :  อยากสิ แต่ แล้วถ้ามันไม่ได้ละ แต่เราลงทุนไปแล้วนะ 
               ผมอึ้ง : ลุงแกคิดอย่างพอเพียงจริงๆ
ผมถาม : ลุงทำ 100 ไร่ ลุงได้กำไรเท่าไหร่ ไม่หักต้นทุนปลูก 
ลุงตอบ :  ขายไร่ละ 980 ราคานี้โรงงานจะมาปลูก และ จะมาเก็บเกี่ยวให้ด้วย เค้าจะหักเงินเราไป แต่เราไม่เหนื่อยมาก เราเหลือ 980 ต่อตัน ปกติจะขายได้ประมาณปีละ 1,500,000 ขาดเกินก็ไม่มาก

ผมถาม : ค่าปุ๋ยเท่าไหร่ครับ  
ลุงตอบ : ลุงใส่ ประมาณ 150 ลูก ถ้าตอ 3 ลุงจะใส่ 200 ลูก  เป็นเงินประมาณ  200,000 บาท  รถไถ ลุงขับเอง มีแต่ค่าน้ำมัน ประมาณ 40000 เพราะลุงซื้อใส่ถัง 200 ลิตรมา

ผมถาม : แล้วลุงมีรายจ่ายอีกไหม  ลุงตอบว่า ไม่มี ถึงมีก็ไม่มาก 

ผมมานั้งคิดใหม่ เอาค่าใช้จ่ายชองลุงมานั่งรวม แล้วปัดให้เป็น 3 แสนเลย 
ผมก็มานั่งคิด 1,500,000 - 300,00 0   เหลือ เงิน 1,200,000  ต่อปี  เฉลี่ยไร่ละ 10,000 บาท 

ลุงแกก็มีความสุข กับเงินที่ได้เพราะแกก็ไม่ต้องไปจ่ายอะไรมากมาย สิ้นปีก็ได้เงินเป็นล้าน แต่อาจจะเป็นเพราะแกมีที่ดินมาก ไม่ต้องเช่า  แต่นี่ก็เป็นตัวอย่างความพอเพียงและหลักการคิดแบบหนึ่งนะครับ ที่คิดว่า  ถ้าเราไม่จ้างใคร เราก็ไม่ต้องลงทุนไปก่อน ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้นตามกำลังของตัวเอง   ลุงทำแบบนี้มา 50 ปี ครับ  จนทุกวันนี้ลุงแกก็มีความสุข เรียกว่าเศรษฐีเลยก็ว่าได้  แต่แกก็ยังไม่หยุดทำงานนะครับ  

เป้าหมายของลุงคือ ลดรายจ่ายระหว่างปีออกไป เพื่อ ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร เพราะถ้าฟ้าฝนไม่เป็นใจ อ้อยไม่งาม หรือเสียหาย เราจะเอาเงินที่ไหนมาใช้เค้า เราต้องไปกู้เค้ามาก็จะเข้าวงจรลูกหนี้ตลอดไป 


ใครอยากเอาหลักการนี้ไปใช้ก็เชิญได้เลยนะครับ
ตอนนี้ผมได้แนะนำให้แกใช้ปุ๋ยพืชสดด้วยเพื่อบำรุงดิน แต่ไม่ต้องเสียเงิน และ ลดต้นทุนเรื่องน้ำหมัก เพราะทำเอง แต่อะไรที่จำเป็นต้องซื้อก็ต้องซื้อครับ เช่น ปุ๋ยเคมี  

ตอนนี้แกทำได้ประมาณ 15 ตันต่อไร่ ที่ตอ 3 ครับ  
ศุภวัตร แซ่เวียว  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น