ก่อนจะปลูกอ้อย คุณควรรู้ก่อนว่า มันต้องการอะไรที่จะทำให้อ้อยโตเต็มที่ มีความหวานเยอะๆ คุณจะได้ไม่ต้องไปเปลืองค่าปุ๋ยเกินความจำเป็น
ปริมาณความต้องการธาตุอาหารในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตของอ้อย
- ระยะที่ 1หน่ออ้อยที่เจริญมาจากท่อนพันธุ์ อัตราการเจริญช้ามากเพราะต้องอาศัยระบบรากที่แทงออกมาจากท่อนพันธุ์ การหาน้ำและธาตุอาหารในช่วงแรกจึงเกิดขึ้นในอัตราต่ำ (ส่วนใหญ่อาศัยน้ำและอาหารจากท่อนพันธุ์)
- ระยะที่ 2หน่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน หลังจากปลูกมีระบบรากแท้ที่สมบูรณ์ สามารถหาน้ำและอาหารจากดินมาใช้ได้ หน่อเริ่มพัฒนาระบบรากแล้ว จึงควรได้รับธาตุอาหารพวก ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ
- ระยะที่ 3หลังจากอ้อยอายุ 4 เดือน อ้อยมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มย่างปล้อง เพิ่มจำนวนปล้อง สร้างใบใหม่ ถ้าต้องการให้มีลำยาวต้องเร่งธาตุอาหารพวกไนโตนเจนเป็นหลัก เสริมด้วยฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม
- ระยะที่ 4 อ้อยโตเต็มที่อายุประมาณ 10 เดือน อ้อยจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น และเริ่มสะสมน้ำตาลในปล้อง ดินควรมีไนโตนเจนน้อย และควรมีโปแตสเซี่ยมและน้ำพอประมาณ
การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
มีอยู่ 5 วิธี
- ดูจากอาการผิดปกติของพืช
- วิเคราะห์ดิน
- วิเคราะห์พืช
- การใส่ธาตุอาหารควบทุกตัว ยกเว้นธาตุที่จะศึกษา
- การตอบสนองต่อพืชโดยการใส่ปุ๋ยแบบคร่าว ๆ
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ขาดธาตุอาหาร
- ขาดธาตุหลัก
- ขาดธาตุรอง
- ขาดจุลธาตุ
- ธาตุไม่สมดุล
สาเหตุที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
- วัตถุต้นกำเนิดดินมีธาตุอาหารน้อย
- มีการสูญเสียธาตุอาหารมากแต่ได้คืนน้อย
- ธาตุอาหารในดินอยู่ในรูปที่พืชใช้ไม่ได้
การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน
- ธาตุอาหารในดิน
- พืชดูดไปใช้
- ถูกชะล้าง-กร่อน
- เป็นแก๊ส
ประมาณธาตุอาหารที่อ้อยนำออกจากไร่ (อ้อย,ยอดใบแห้ง) กก./ไร่
ธาตุอาหาร | ปริมาณธาตุอาหารที่ถูกนำออกไป กก./ไร่ | |||
ผลผลิต 20 ตัน/ไร่ | ผลผลิต 15 ตัน/ไร่ | ผลผลิต 20 ตัน/ไร่ | หมายเหตุ | |
ไนโตรเจน (N) | 24.64 | 19.52 | 20.48 | วิเคราะห์ใบอ้อยจากแหล่งต่างๆ |
ฟอสฟอรัส (P) | 5.92 | 2.72 | 2.40 | |
โปแตสเซียม (K) | 44.16 | 33.38 | 22.24 | |
แคลเซียม (Ca) | 8.80 | 4.32 | 4.80 | |
แมกนีเซียม (Mg) | 9.12 | 2.88 | 4.64 | |
ซัลเฟอร์ (S) | 7.52 | 4.00 | 4.00 | |
ทองแดง (Cu) | 0.01 | 0.01 | 0.01 | |
สังกะสี (Zn) | 0.09 | 0.07 | 0.06 | |
เหล็ก (Fe) | 0.88 | 1.17 | 1.19 | |
แมงกานีส (Mn) | 0.03 | 0.62 | 0.78 |
ปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต
ธาตุอาหาร | ธาตุอาหารที่ถูกนำออกไปจากไร่ kg/t | ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง kg/t | ค่าเฉลี่ย kg/t | |
ขั้นต่ำ | ขั้นสูง | |||
ไนโตรเจน | 0.56 | 1.2 | 0.9 | 1 |
ฟอสฟอรัส | 0.38 | 0.8 | 0.6 | 0.6 |
โปแตสเซียม | 1 | 2.5 | 1.8 | 2 |
แคลเซียม | 0.25 | 0.6 | 0.4 | 0.4 |
แมกนีเซียม | 0.2 | 0.35 | 0.28 | 0.25 |
ปริมาณธาตุอาหารตามผลผลิต
ถ้าท่านต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นท่านต้องใช้ปุ๋ยตามค่าผลผลิต ดังนี้
ผลผลิต | N | P2O5 | K2O | Cao | mgo |
ตัน/ไร่ | kg | kg | kg | kg | kg |
1 | 1 | 0.6 | 2 | 0.4 | 0.25 |
6 | 6 | 3.6 | 12 | 2.4 | 1.5 |
8 | 8 | 4.8 | 16 | 3.2 | 2.0 |
10 | 10 | 6.0 | 20 | 4.0 | 2.5 |
12 | 12 | 7.2 | 24 | 4.8 | 3.0 |
14 | 14 | 8.4 | 28 | 5.6 | 3.5 |
การแนะนำการใช้ปุ๋ยของออสเตรเลีย
ไนโตรเจน | ฟอสฟอรัส | โปแตสเซียม | |
พักที่ปลูกอ้อย | 21.6 – 24 | 12.8 | 0-12.8 |
รื้อตอปลูกใหม่ | 33.6–40 | 12.8 | 0 - 16 |
ตอ | 33.6–40 | 6.4 | 0-16 |
P2O5 < 10 ppm ใช้ 12.8 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 6.4 กก./ไร่
P2O5 11- 20 ppm ใช้ 6.4 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 6.4 กก./ไร่
P2O5 21-40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 3.2 กก./ไร่
P2O5 > 40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอไม่ใช้
P2O5 11- 20 ppm ใช้ 6.4 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 6.4 กก./ไร่
P2O5 21-40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 3.2 กก./ไร่
P2O5 > 40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอไม่ใช้
การเตรียมแปลงพันธุ์
การเตรียมพันธุ์อ้อย
- พันธุ์ที่จะนำมาปลูกต้องมาจากแปล่งที่เชื่อถือได้
- แหล่งพันธุ์ต้องปลอดจากโรคใบขาว โรคเหี่ยวเน่าแดง
- พันธุ์อ้อยต้องเป็นพันธุ์ที่ไม่มีพันธุ์อื่นปน
- พันธุ์อ้อยไม่มีหนอนเจาะลำต้น
- ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ หรือตอ 1 ที่ดูแลรักษาอย่างดี
- อายุ 6-10 เดือน
การตัดพันธุ์และการขนย้ายท่อนพันธุ์
- ตัดชิดดิน
- ตัดให้มีกาบใบหุ้มตาไว้ ริดใบออกเท่านั้น
- การขนย้ายอย่าให้กระทบกระเทือนมาก เพราะตาจะแตก
- การตัดพันธุ์ เมื่อตัดแล้วควรรีบปลูกให้แล้วเสร็จ ภายใน 5 วัน ถ้าเกินจากนี้เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงเรื่อย ๆ
การจัดเตรียมแปลงพันธุ์
- ชาวไร่ทุกรายควรจัดทำแปลงพันธุ์ของตนเอง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ต้องการ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตนเองปริมาณที่เตรียม 1 ไร่ 15 ตัน สามารถขยายได้ 10 ไร่ ถ้า 1 ไร่ 10 ตัน สามารถขยายได้ 6.5 ไร่
- คำนวณเวลาปลูกแปลงพันธุ์ อายุพันธุ์ 8-10 เดือน
- ถ้าปลูกอ้อยข้ามแล้ง ต.ค.-ธ.ค. ควรปลูกพันธุ์อ้อยในเดือนเมษายน
- ถ้าปลูกอ้อยรดน้ำ/ต้นฝน ม.ค.-พ.ค. ควรปลูกในเดือนมิถุนายน
- วิธีการปลูก
- เลือกสภาพพื้นที่ ไม่เป็นที่ลุ่ม หรือดอนเกินไปควรเรียบราบ
- การเตรียมดิน ใช้ริบเปอร์ระเบิดดาน เพื่อให้รากหยั่งลึก หากฝนทิ้งช่วงพันธุ์อ้อยจะไม่กระทบแล้งมากนัก การเตรียมดินไม่ต้องละเอียด เพราะจะทำให้ดินแน่นทึบ
- การปลูกแปลงพันธุ์
- ปลูกด้วยเครื่องปลูก ควรเป็นร่องคู่ การกลบ กลบบางๆ เพราะเป็นช่วงต้นฝน (เครื่องปลูกร่องคู่)
- รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เร่งราก
- ฉีดพ่นยาคุม (เครื่องมือฉีดยาคุม)
- ปุ๋ยแต่งหน้าสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ฝังกลางร่อง เมื่ออ้อยอายุ 8-10 สัปดาห์ หลังปลูก (เครื่อง MPI)
- ฉีดพ่นยาคุม (เครื่องมือฉีดยาคุม)
- หมั่นตรวจโรคแมลงบ่อย ๆ อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง ถ้าพบโรคแมลงให้จัดการขุดออก ตัดออก หรือใช้วิธีชีวภาพ หรือใช้สารเคมี แล้วแต่กรณี
- ช่วงฝนชุกประมาณ เดือนกันยายน ใส่ยูเรียอัตรา 20 กก./ไร่ เพื่อให้อ้อยสมบูรณ์ เมื่อนำไปปลูกจะงอกเร็ว
- หมดฤดูฝน พรวนดินรอบแปลงกันไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น